วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556


                                                   รูปแบบขององค์กรธุรกิจ
รูปแบบขององค์กรธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในวงการธุรกิจของประเทศไทย  จำแนกรูปแบบได้ดังต่อไปนี้
1. กิจการเจ้าของคนเดียว
2. ห้างหุ้นส่วน  แยกออกเป็น
    2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ
    2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3. บริษัทจำกัด
4. การสหกรณ์  แบ่งเป็น 6 ประเภท
   4.1 สหกรณ์การเกษตร
   4.2 สหกรณ์ประมง
   4.3 สหกรณ์นิคม
   4.4 สหกรณ์ร้านค้า
   4.5 สหกรณ์ออมทรัพย์
   4.6 สหกรณ์บริการ

5. รัฐวิสาหกิจรูปแบบขององค์กรธุรกิจ

องค์กรธุรกิจตามกฎหมายไทยในปัจจุบันอาจแบ่งรูปแบบได้เป็น 2 ประเภท คือ 

1. รูปแบบองค์กรที่ไม่เป็นนิติบุคคล
   กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship) คือ การ ที่บุคคลหนึ่งนำสินทรัพย์ของตนมาลงทุนในกิจการเพื่อหากำไร โดยจะดำเนินการบริหารงานต่าง ๆ และรับผิดชอบดำเนินงานทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว   การบริหารงานและความรับผิดชอบ ผู้เป็นเจ้าของจะมีสิทธิในการบริหารงานอย่างเต็มที่ และรับผิดชอบงานในทุก ๆ ด้าน รวมถึงผลการดำเนินงานของกิจการโดยไม่จำกัด แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น สินทรัพย์ส่วนตัวจะไม่แยกจากสินทรัพย์ของกิจการ
                     การเลิกกิจการ มีสาเหตุดังต่อไปนี้
     1    เจ้าของไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อ
     2    โอน ขายต่อให้ผู้อื่น
     3    เจ้าของตาย
     4    ศาลสั่งเลิกกิจการ
·                       ข้อดี ข้อเสีย ของกิจการเจ้าของคนเดียว
·                                             ข้อดีของธุรกิจเจ้าของคนเดียว
1.     การจัดตั้งง่าย จะเลิกกิจการก็ทำได้สะดวก และไม่จำเป็นต้องแสดงงบกำไรขาดทุนหรืองบดุลต่อประชาชน
2.  การบริหารงานเป็นอิสระ มีความคล่องตัว
3.       ได้รับผลกำไรเพียงคนเดียว
4.         รักษาความลับของกิจการได้
·                                             ข้อเสียของธุรกิจเจ้าของคนเดียว
1.         ทุนมีจำกัด
2.       ต้องเป็นธุรกิจขนาดเล็ก จึงจะดำเนินการได้มีประสิทธิภาพ
3.       การบริหารกระทำโดยบุคคลเดียว อาจผิดพลาดได้
4.       เจ้าของต้องรับผิดชอบหนึ้สินโดยไม่จำกัดจำนวน
5.        อายุของกิจการจำกัดเท่ากับอายุของเจ้าของเท่านั้น



2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership) คือ ธุรกิจซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป สัญญาตกลงร่วมทุนกันกระทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีความประสงค์จะแบ่งกำไรจากการประกอบกิจการที่ได้ร่วมกันนั้น
·                     การบริหาร ห้างหุ้นส่วนเป็นการร่วมทุนของหลาย ๆ คน ทุกคนมีสิทธิในการออกเสียงในการดำเนินการ โดย 1 คน ถือเป็น 1 เสียง
·                     หน้าที่ของผู้เป็นหุ้นส่วน
1.                                    หุ้นส่วนทุกคนถือเป็นตัวแทนร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกัน
2.                                    หากมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้เป็นหุ้นส่วน ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนเดิมทุกคนก่อน
3.                                    ผู้เป็นหุ้นส่วนจะประกอบกิจการที่มีลักษณะเดียวกับห้างหุ้นส่วนไม่ได้ ยกเว้นได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
4.                                    ผลของการดำเนินงานไม่ว่าจะขาดทุนหรือกำไร ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน
·                     ความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วน ต้องพิจารณาตามประเภท คือ
1.                                    ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันรับผิดชอบใน หนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.                                    ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ดังนั้น สินทรัพย์ส่วนตัวกับสินทรัพย์ของธุรกิจจึงไม่แยกจากกัน เมื่อมีหนี้สินเกิดขึ้น เจ้าหนี้จะฟ้องร้องหุ้นส่วนคนใดก็ได้ และต้องรับผิดชอบในจำนวนหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวน
2.                                    ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ( เป็นนิติบุคคล )
2.                                    ห้างหุ้นส่วนจำกัด ( เป็นนิติบุคคล )
2. รูปแบบองค์กรธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล
1.                                    ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ดังนั้น สินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วน กับสินทรัพย์ของกิจการจะแยกกัน
2.                                    ห้างหุ้นส่วนจำกัด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.                                    หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบ คือ หุ้นส่วนซึ่งจำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินของธุรกิจไม่จำเกินจำนวนเงินทุนที่ สัญญาว่าจะนำมาลงทุนในหุ้นส่วนนั้น
·                                             สิทธิทั่วไปของผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด
1.                                    สิทธิในการสอบถามกิจการงาน ตรวจสอบสมุดบัญชีเอกสารของห้างได้บ้างตามสมควร
2.                                    สิทธิในการขายแข่งกับห้างได้
3.                                    สิทธิในการออกความเห็น แนะนำ เลือก หรือถอดถอนผู้จัดการ โดยหุ้นส่วน 1 คน มีเสียงเป็น 1 เสียงเท่ากัน โดยถึงเงินลงทุนว่ามากหรือน้อยเท่าใด
·                                               สิทธิที่ถูกจำกัด
1.                                    เอาชื่อตนไปตั้งเป็นชื่อห้างไม่ได้
2.                                    จะต้องลงทุนด้วยเงิน หรือสินทรัพย์อย่างอื่น ลงทุนด้วยแรงงานไม่ได้
3.                                    ไม่ได้รับเงินปันผล หรือดอกเบี้ย จนกว่าห้างจะได้กำไร
4.                                    ไม่มีสิทธิเข้าไปจัดการงานของห้าง
2. หุ้นส่วนชนิดไม่จำกัดความรับผิดชอบ คือ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนที่ต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้สินของธุรกิจโดยไม่จำกัด
* * ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องมีหุ้นส่วนชนิดไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน จึงจะสามารถดำเนินกิจการได้ * * 
·                     สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบ
·                     สิทธิในสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น
·                     สิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งผลกำไรและแบ่งสินทรัพย์เมื่อเลิกห้าง
·                     สิทธิในการจัดการงาน และการควบคุมดูแลกิจการของห้าง
·                     ข้อดี ข้อเสีย ของห้างหุ้นส่วน
·                                             ข้อดีของห้างหุ้นส่วน
0.                                                                                    การก่อตั้งง่าย
1.                                                                                    หาทุนได้มากกว่าธุรกิจเจ้าของคนเดียว
2.                                                                                    มีการรวมความสามารถ
3.                                                                                    มีการกระจายความเสี่ยงในการรับผิดชอบในหนี้สินต่าง ๆ
·                                             ข้อเสียของห้างหุ้นส่วน
0.                                                                                    อายุของกิจการไม่ยั่งยืน
1.                                                                                    เกิดความขัดแย้งกันได้ง่าย
2.                                                                                    หากหุ้นส่วนคนใดไม่สุจริต หรือประมาท อาจทำความเสียหายให้กับกิจการและผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นได
3.                                                                                    หุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวน หากดำเนินกิจการผิดพลาดอาจสูญเสียสินทรัพย์ส่วนตัวได้


3. บริษัทจำกัด (Private Companies) หรือ บริษัทเอกชน คือ บริษัทประเภทซึ่งด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ ตามมูลค่าของหุ้นที่ตนถือเท่านั้น
·                     หลักเกณฑ์ที่สำคัญ
1.                                    ตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน
2.                                    มูลค่าขั้นต่ำของหุ้นตามกฎหมายต้องไม่น้อยกว่า 5 บาท
3.                                    มีผู้ถือหุ้นขั้นต่ำ 7 คน
4. บริษัทมหาชน จำกัด หมายถึง บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ ที่จะเสนอ ขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัด ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ
·                       หลักเกณฑ์ที่สำคัญ
1.                                    แบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
2.                                    ผู้ถือหุ้นขั้นต่ำ 15 คน
3.                                    ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเสมอ
4.                                    ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีอยู่ในประเทศไทย
ลักษณะและรูปแบบการขยายตัวของธุรกิจ มี 2 ลักษณะ คือ
1.                                    การเจริญเติบโตจากภายนอก ( Internal Expansion ) การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆนั้นมาจากส่วนของเจ้าของเป็นหลัก เช่น
1.                                    นำเงินสะสมของกิจการมาใช้ขยายกิจการ
2.                                    ออกหุ้น เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้
3.                                    กู้ยืมจากธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน
·                     ข้อจำกัด ในเรื่องปริมาณเงิน คือ ไม่สามารถหาเม็ดเงินลงทุนได้เพียงพอ
                                                การเจริญเติบโตจากภายนอก ( External Expension ) เป็นการขยายตัวโดยการที่บริษัทไปรวมตัวกับบริษัทอื่น โดยมีวิธีการดังนี้
0.                                    การเข้าไปซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการที่ต้องการครอบครอง
1.                                    การเข้าไปซื้อหุ้นของกิจการที่ต้องการครอบครอง
รูปแบบของการครอบครองกิจการ 4 ประเภท
1.Consolidation หรือ Amalgamation คือ การรวมกิจการตั้งแต่ 2 กิจการขึ้นไป ให้เป็นกิจการเดียว เกิดเป็นบริษัทใหม่ ชื่อใหม่ ออกหุ้นใหม่ 

2. Merger คือ การรวมกิจการของบริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ให้เป็นกิจการเดียว แต่ภายหลังจากการรวมแล้วมิได้เกิดบริษัมใหม่แต่จะเหลือบริษัทเพียงบริษัท เดียวเท่านั้น

3. Acquisitionคือ การซื้อกิจการของบริษัทอื่น อาจจะซื้อสินทรัพย์อย่างเดียวหรือซื้อทั้งหนี้สินด้วย หรือเป็นการเข้าไปซื้อหุ้นสามัญให้มากพอที่จะมีสิทธิ์เข้าไปบริหารกิจการของ อีกบริษัทได้ ที่เรียกว่า Takeover 

ข้อแตกต่างระหว่าง Merger และ Acquisition
Merger
1.                                    ต้องรับเอาทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดของบริษัทอื่นมารวมเป็นบริษัทเดียว
2.                                    ต้องซื้อหุ้นทั้งหมดของอีกบริษัท
3.                                    เกิดจากความสมัครใจของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
Acquisition
1.                                    อาจจะซื้อสินทรัพย์อย่างเดียวหรือบางส่วน ก็ได้ส่วนหนี้สินอาจจะรับหรือไม่รับก็ได้
2.                                    ไม่ต้องซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทก็ได้
3.                                    อาจเกิดจากการบังคับซื้อโดยผู้ขายไม่สมัครใจก็ได้
4. Takeover คือ การเข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทอื่นให้มีจำนวนเพียงพอที่จะเข้าไปบริหารกิจการ ของบริษัทนั้นที่เรียกว่า การเข้าครอบงำกิจการ อาจจะเข้าครอบงำกิจการอย่างเป็นมิตร ( friendly takeover ) หรืออาจจะเป็นการเข้าครอบงำกิจการอย่างไม่เป็นมิตร ( unfriendly takeover )


ที่มา courseware.payap.ac.th
รูปแบบขององค์กรธุรกิจ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน? แบบไหนดี ? article
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
การประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จ นำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรสูงสุด มีรูปแบบการเริ่มต้นทำธุรกิจดังนี้ ธุรกิจประกอบการในนามบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด ซึ่งแต่ละรูปแบนั้นมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ดังนั้นก่อนการเริ่มต้นธุรกิจ เจ้าของธุรกิจควรตัดสินใจว่า ควรจะจัดตั้งธุรกิจแบบใดจึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของท่าน เพื่อให้กิจการมีต้นทุนต่ำและมีกำไรสูงสุด ดังนี้
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
1. ธุรกิจบุคคลธรรมดา เป็นเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ไม่ได้ร่วมลงทุนกับบุคคลอื่น ทำให้มีอิสระในการดำเนินงานและการตัดสินใจได้อย่างเต็มที่ ผลกำไรที่เกิดขึ้นก็ไม่ต้องแบ่งให้ใคร แต่เจ้าของธุรกิจจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการที่เกิดขึ้นไม่จำกัดจำนวน
  การจัดทำบัญชีและเสียภาษี ข้อดีของธุรกิจบุคคลธรรมดาคือไม่ต้องยุ่งยากในการจัดทำบัญชี สามารถเสียภาษีตามวิธีหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาหรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง เสียภาษีในอัตราก้าวหน้าตามฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มจาก 0% - 37%
2. ธุรกิจประเภท ห้างหุ้นส่วน ลักษณะของห้างหุ้นส่วน มาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า "อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น"
ดังนั้นตามกฎหมายห้างหุ้นส่วนจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป เข้ามาเป็นหุ้นส่วน จะนำทุนมาเข้าหุ้นกันมากน้อยเท่าใดก็ได้ 2. ตกลงเข้ากัน คือ บุคคลที่จะเข้าร่วมประกอบกิจการได้ทำสัญญาตกลงกันว่าจะประกอบการค้าร่วมกัน การตกลงกันนั้น จะต้องมีการแสดง เจตนาโดยแจ้งชัด อาจจะทำเป็นสัญญาปากเปล่า หรือ ลายลักษณ์อักษร ก็ได้ว่าจะเข้าเป็น "ห้างหุ้นส่วน" ทุนที่จะนำมาลง ได้แก่ เงินสด ทรัพย์สินอย่างอื่น หรือ แรงงาน คือ ใช้กำลัง สติปัญญา ความคิดแรงกายแทน 3. เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกัน คือคู่สัญญา จะต้องมาร่วมแรงรวมใจและร่วมทุกข์กันเพื่อทำการตามที่ได้ตกลงไว้ 4. เพื่อประสงค์กำไร คือ เป็นการตกลงใจทำงาน โดยมีจุดหมายปลายทางเพื่อผลกำไร อันได้เกิดจากกิจการที่ทำนั้น และผลกำไรจะได้นำมาแบ่งกัน ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แต่ถ้ากิจการไม่หวังผลกำไร กิจการนั้นไม่ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วน 
ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (จดทะเบียน)
3.ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนสามัญ(ไม่จดทะเบียน)
+เป็นการตกลงทำกิจการร่วมกันและแบ่งกำไรกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้กฏหมายไม่ได้บังคับให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงเสมือนมีสภาพเป็นคณะบุคคล ซึ่งหากเลือกจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะเรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" ซึ่งความรับผิดในหนี้ของหุ้นส่วน จะจำกัดเพียง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนเท่านั้น และส่วนใหญ่ไม่เป็นที่นิยมจดทะเบียนกัน  
+การจัดทำบัญชีและเสียภาษี การจัดทำบัญชีและเสียภาษี ไม่ต้องยุ่งยากในการจัดทำบัญชี เหมือนกรณีบุคคลธรรมดา แต่การเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคลจะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่แยกออกจากตัวบุคคล ถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งตามมาตรา 56 วรรค(2) ของประมวลรัษฏากร นอกจากนี้เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดทะเบียน)
+การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้ เมื่อได้จดทะเบียนนิติบุคคลตามกฏหมาย กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะเรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" ซึ่งความรับผิดในหนี้ของหุ้นส่วน จะจำกัดเพียง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนเท่านั้น และส่วนใหญ่ไม่เป็นที่นิยมจดทะเบียนกัน
+ การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
+การประกอบการในลักษณะนี้จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และต้องใส่คำว่า "ห้างหุ้นส่วนจำกัด" ไว้หน้าชื่อห้างเสมอไปด้วย เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัดสินไทย โดยต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และต้องประกอบด้วยหุ้นส่วนอยู่ 2 ประเภทคือ
1. ประเภทจำกัดความรับผิดชอบ จำกัดรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้น ไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการ
2. ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ การไม่จำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ไม่จำกัดหนี้สินที่เกิดขึ้นทุกกรณีของห้างหุ้นส่วนและมีสิทธิที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ
+การเบิกจ่ายเงินกับธนาคารของห้างฯ ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างหุ้นส่วนกันเองแล้วไปแจ้งกับธนาคาร ไม่เกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
ข้อดีของห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. รวบรวมเงินทุน ความรู้ความสามารถจากผู้เป็นหุ้นส่วนได้มากขึ้น
2. ผู้มีเงินทุนยินดีจะลงทุนร่วมด้วย โดยเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ทำให้พ้นภาระรับผิดชอบในหนี้สินแบบลูกหนี้ร่วม
3. สามารถจะระดมบุคคลที่มีความเชียวชาญในสาขาใด ๆ มาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้
4. ได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกมากขึ้น
5. เสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล
6. เป็นที่นิยมจดทะเบียน
ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนจำกัด 
1. การจัดตั้งมีความยุ่งยากมากขึ้น
2. หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ต้องรับภาระหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
3. เมื่อมีผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดตาย ล้มละลาย หรือลาออก ห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องเลิกกิจการและชำระบัญชีให้เรียบร้อย
  การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ
3. บริษัทจำกัด การจัดตั้งกิจการจะต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 คน (ตามกฎหมายใหม่ เมื่อก่อนต้องมีผู้ก่อการและผู้ถือหุ้นอย่างน้อยเจ็ดคน) โดยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน ผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ ดำเนินโดยคณะกรรมการบริษัท ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากกว่า
  การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น