วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

                                  ภาวะผู้นำกับการบริหารงานในองค์การ
                                                                             
                                                                                      ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพิศ สุขแสน**
ปัจจุบันการบริหารงานในองค์การไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนก็ตาม จะต้อง
เกี่ยวข้องกับหลักการบริหาร อันได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดเจ้าหน้าที่ การอำนวยการหรือ
การสั่งการ การประสานงาน การควบคุมและการประเมินผลงาน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะถือว่าเป็น
ภารกิจหน้าที่ และนอกจากนี้ องค์การต่าง ๆ ยังมีแนวโน้มที่จะขยายและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งตาม
กระแสของการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกาภิวัฒน์ (Globalization)
ปรากฏการณ์เช่นนี้ .ภาวะความเป็นผู้นำ. (Leadership) ของผู้บริหารองค์การทุกระดับจึงเป็น
สิ่งจำเป็นที่จะต้องมี และนำมาเพื่อโน้มน้าวให้บุคคลทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การที่มีขนาดใหญ่ สายการบังคับบัญชายาวมาก มีความสลับซับซ้อนของงานสูง
และเป็นงานบริการที่ต้องเกี่ยวข้องกับประชาชนและผู้รับบริการ ตลอดจนหน่วยงานอื่นข้างเคียง ผู้
บริหารองค์การจะใช้ความรู้เฉพาะด้านหรือใช้ศาสตร์ทางการบริหารอย่างเดียวจึงไม่พอ ดังนั้นการ
บริหารองค์การให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพได้อย่างน่าภูมิใจนั้น ผู้บริหารจะต้องใช้ .ศิลป์.
ควบคู่กับ. ศาสตร์. ในการบริหารอย่างกลมกลืนด้วย
คำว่า "ผู้นำ" (Leader) และ "ภาวะผู้นำ" (Leadership) นั้น มีผู้ให้ความหมายไว้มากมายซึ่งมี
ลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ภาวะผู้นำนั้นมีขอบเขตกว้างและเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัว ดังที่
ประธานาธิบดี ดไวท์ ดี.ไอเซนฮาวร์ ได้กล่าวไว้ว่า "ผู้นำ (Leader) หมายถึง ผู้ที่สามารถโน้มน้าวให้ผู้
อื่นเต็มอกเต็มใจ กระทำในสิ่งที่ผู้นำนั้นต้องการ . ส่วน "ภาวะผู้นำ" (Leadership) หมายถึง กระบวน
การหรือกิจกรรมในการสร้างอิทธิพล จูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาหรือกลุ่ม เพื่อให้เกิดความพยายามในการ
ทำงานร่วมกันโดยให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง
จากความหมายดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่า กระบวนการเป็นผู้นำจะขึ้นอยู่กับตัวผู้นำ (Leader) ตัวผู้
ตาม (Follower) และสถานการณ์ (Situation) ถ้าไม่มีผู้ตามก็จะไม่มีผู้นำ บางครั้งมีผู้ตามแต่ยังไม่เกิดภาวะ
ผู้นำก็ได้ เพราะยังไม่เกิดสถานการณ์หนึ่งขึ้นมา
** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์
เอกสารประกอบการอบรม . ยุทธศาสตร์ในการเป็นหัวหน้างานมืออาชีพ . ของผู้บริหารระดับต้น ฝ่ายสนับสนุน
โรงพยาบาลแพร่ วันที่ 22 พฤษภาคม 2544 ณ ห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ โรงพยาบาลแพร่









ทฤษฎีภาวะผู้นำ
ทฤษฎีภาวะผู้นำ แบ่งออกเป็น 3 ทฤษฎีใหญ่ ๆ คือ
ทฤษฎีที่ทฤษฎีบุคลิกภาพ (Trait Theory or Great man Theory) เป็นทฤษฎีที่เน้นบุคลิกภาพ
ของบุคคลเป็นสำคัญ โดยเชื่อว่า " ถ้าบุคคลมีบุคลิกภาพดี ย่อมแสดงถึงการเป็น ผู้นำ" หรือ "บุคคลที่มี
บุคลิกภาพที่ดี ย่อมเป็นผู้นำได้" ซึ่งหลักในการพิจารณาภาวะผู้นำตามทฤษฎีนี้คือ
1.1 Physical Look คือ พิจารณาลักษณะของผู้นำจากบุคลิก รูปร่าง ท่าทาง อาทิ สูง ต่ำ ดำ ขาว
อ้วน ผอม สวย หล่อ การเดิน น้ำเสียง ฯลฯ ซึ่งสังคมอาจกำหนดแตกต่างกันไป เช่น บางสังคมให้ความ
สำคัญกับบุคคลที่สูงใหญ่ ล่ำสัน เดินสง่า พูดจาห้าวหาญ ว่าเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำ แต่บางสังคมอาจ
พิจารณาลักษณะของผู้นำจะต้องอ้วน ผิวขาว ศีรษะเถิก เสียงดัง เป็นต้น
1.2 Social Background คือ พิจารณาจากภูมิหลังทางสังคมของบุคคล เช่น การศึกษา วิชาที่
สามารถเรียนรู้เพื่อเป็นผู้นำได้ดีคือ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ จิตวิทยา สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ หรือพิจารณาจากฐานะทางการเงิน (Economic Status) เช่น ถ้าใครมีฐานะทางการเงิน
ดี เป็นลูกหลานผู้มีอันจะกินย่อมมีโอกาสถูกเลือกเป็นผู้นำมากกว่า ดังคำสุภาษิตที่ว่า "มีเงินก็นับว่าน้อง
มีทองก็นับว่าพี่" สำหรับสังคมไทยนั้นพิจารณาภูมิหลังทางสังคมของบุคคลที่จะเป็นผู้นำจากสายเลือด
นามสกุล ชาติตระกูล และฐานะทางการเงินมากกว่าระดับการศึกษา โดยเฉพาะผู้นำทางการเมือง ส่วนผู้
นำในองค์การของรัฐก็มักเป็นไปตามตำแหน่งหน้าที่ มิค่อยได้พิจารณาจากภูมิหลังนัก
1.3 Itellectual หมายถึง การพิจารณาภาวะผู้นำจากสติปัญญา หรือความเฉลียวฉลาด การมี
ปฎิภาณไหวพริบ เช่น ดูจากความมีวิสัยทัศน์ (Vision) ความฉลาดในการแก้ไขปัญหาหรือความสามารถ
มองเห็นปัญหาที่คนธรรมดามองไม่เห็น การสื่อความหมายได้ชัดเจนรวดเร็วกว่าคนอื่น ตลอดจนการตัด
สินใจอย่างรวดเร็ว และถูกต้อง
1.4 Social Skills หมายถึง การมีทักษะทางสังคมดี เช่น มีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้
ใต้บังคับบัญชาดี มีคนรักใค่รและศรัทธามาก (Popularity) ไม่มีศัตรู หรือสามารถ " ดึงศัตรูให้กลายเป็น
มิตรได้ " มีการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลทุกระดับชั้นได้ดี โดยไม่มีอคติ
1.5 Task Orientation หมายถึง การเป็นคนที่อุทิศตนเองให้กับงานอย่างเต็มที่ มีความรับผิด
ชอบต่องานสูง มีความรักและความผูกพันกับงานในองค์การ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สนใจและยอม
รับนวัตกรรมใหม่ ๆ (Innovation) อาทิ คอมพิวเตอร์ ระบบ Internet เครื่องอุปกรณ์สำนักงานที่ทันสมัย
ต่าง ๆ
ทฤษฎีที่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรม (Behavior Theory) เป็นทฤษฎีที่เน้นพฤติกรรมของผู้นำ
เป็นสำคัญ โดยมองว่าผู้นำจะต้องมีพฤติกรรมที่เหมาะสม พึงประสงค์คือ จะต้องเน้นทั้งคนและเน้นทั้ง
งาน หรือที่เรียกว่า "งานก็สนคนก็สร้าง" ซึ่งถ้าจะแบ่งประเภทของผู้นำโดยพิจารณาจากพฤติกรรมของผู้
นำ สามารถแยกแยะได้ดังนี้






ประเภทของผู้นำ
1. ถ้าพิจารณาพฤติกรรมของผู้นำจากการได้มาโดยอำนาจ สามารถแบ่งผู้นำได้ 3 ประเภท คือ
1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legalistic Leader) เป็นผู้นำที่ได้อำนาจตามกฎหมาย มักใช้อำนาจที่
ตนมีอยู่ทำทุกอย่างที่ตนพอใจ ไม่มีการยืดหยุ่น ยึดกฏระเบียบมาก
1.2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ (Charismatic Leader) เป็นผู้นำที่มิได้ใช้อำนาจที่ตนมีอยู่เป็นเครื่อง
มือในการบริหาร แต่จะใช้ศิลปะการเป็นผู้นำ โดยสร้างบารมีและสร้างศรัทธาจากผู้ใต้บังคับบัญชาขึ้นมา
เอง ซึ่งจะมีผลผลักดันให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วยความเต็มใจ การทำงานในองคการก็จะมีประสิทธิภาพ
1.3 ผู้นำแบบสัญลักษณ์หรือแบบพ่อพระ (Symbolic Leader) เป็นผู้ที่ลูกน้องยกย่องเคารพนับ
ถือตามตำแหน่งที่ได้รับ และเห็นว่าเป็นแบบอย่างแก่ลูกน้องได้ ผู้นำแบบนี้มักถูกเชิญเป็นประธานในที่
ประชุมหรือเป็นสัญลักษณ์ในการเปิด - ปิดงานต่าง ๆ เป็นต้น
2.  ถ้าพิจารณาจากวิธีการใช้อำนาจของผู้นำ สามารถแบ่งผู้นำออกเป็น 3 ประเภท คือ
2.1 ผู้นำแบบเผด็จการหรือแบบอัตาธิปไตย ( Dictation Leader ) ผู้นำแบบนี้จะเน้นเรื่องการ
บังคับบัญชาและการออกคำสั่งเป็นสำคัญ ไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ชอบใช้อำนาจหน้าที่ใน
การดำเนินการเกือบทุกเรื่อง "ความคิดของผู้นำต้องถูกต้องเสมอ" ดังคำกล่าว "โทษของผู้อื่นเท่าภูเขา
โทษของเราเท่าเส้นผม" การบริหารงานจึงเป็นแบบ "ข้าเก่งคนเดียว" หรือ . ข้าถูกคนเดียว .
2.2 ผู้นำแบบเสรีนิยม หรือผู้นำแบบตามบาย (Laissez Faire Leader) ผู้นำประเภทนี้จะเน้น
บริหารงานแบบตามสบาย ปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระเต็มที่ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การจะ
ถูกมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจเองตามใจชอบ ส่วนตนก็จะอยู่ไปวัน ๆ หนึ่งเท่านั้น การ
ทำงานในองค์การจึงขาดประสิทธิภาพ จัดได้ว่าเป็นผู้นำแบบ "งานไม่สนคนไม่สร้าง"
2.3 ผู้นำประชาธิปไตย (Democratic Leader) ผู้นำประเภทนี้ใช้มนุษย์สัมพันธ์ค่อนข้างสูง คือ
ให้เกียรติยอมรับผู้ร่วมงาน โดยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น พูดคุยด้วย จัดสรรหรือแบ่งงานด้วย
ความเหมาะสมและสอดคล้องกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล ตลอดจนให้เสรีภาพในการทำงาน การ
วิพากษ์วิจารณ์ และการร่วมตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ
3.  ถ้าพิจารณาประเภทของผู้นำตามระดับความสามารถ  แบ่งประเภทของผู้นำออกเป็น  4
ประเภท คือ
3.1 ผู้นำที่มีความสามารถสูง แต่สัมพันธภาพกับผู้อื่นต่ำ ผู้นำแบบนี้จะเน้นผลผลิต (Output)
ของงานมาก เป้าหมายอยู่ที่งาน ละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำ
แบบนี้อาจเรียกว่า "คนไม่ยุ่ง มุ่งแต่งาน"
3.2 ผู้นำที่มีความสามารถต่ำแต่สัมพันธภาพกับผู้อื่นสูง ผู้นำแบบนี้จะเน้นการมีมนุษย-
สัมพันธ์กับทุกคนในองค์การมาก ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ประนีประนอมทุกเรื่อง มีความเป็นกันเอง ไม่
กล้าขัดขวางหรือท้วงติงการกระทำใด ๆ ของผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชาในกรณีที่กระทำผิดวินัย
4
หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะกลัวเสียสัมพันธภาพ ดังนั้น การทำงานจึงขาดประสิทธิภาพ ไม่ยึด
กฎระเบียบเท่าที่ควรขาดความเด็ดขาดในการตัดสินใจ ผู้นำแบบนี้อาจเรียกว่า "งานไม่ยุ่งมุ่งแต่คน"
3.3 ผู้นำที่มีความสามารถต่ำและสัมพันธภาพกับผู้อื่นต่ำ ผู้นำแบบนี้จะบริหารงานโดยไม่ยึด
กฎระเบียบมากนัก มีความรับผิดชอบต่องานน้อย ขาดความเด็ดขาดในการตัดสินใจ ประสิทธิภาพของ
งานในองค์การจึงต่ำ ในขณะเดียวกันผู้นำก็จะไม่สนใจเรื่องมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ ขาดความสนใจผู้
ใต้บังคับบัญชาไม่ให้ขวัญกำลังใจเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานบรรลุผลสำเร็จ และมักสร้างความขัดแย้ง
ขึ้นในองค์การ ผู้นำแบบนี้มักขาดความรักและความศรัทธาอย่างจริงใจจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้นำแบบ
นี้อาจเรียกว่า "งานไม่สน คนไม่สร้าง"
3.4 ผู้นำที่มีความสามารถสูงและสัมพันธภาพกับผู้อื่นสูง ผู้นำแบบนี้จะมีพฤติกรรมในการ
ทำงานที่ดี มีความรับผิดชอบต่องานสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนางานในองค์การตลอดเวลา ตัด
สินใจรวดเร็วและถูกต้องเน้นผลผลิต (Output) ของงานมาก และในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับ
เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา โดยให้ความสนใจ การยอมรับความเป็นกันเอง การยกย่องให้เกียรติ
อย่างสม่ำเสมอและจริงใจ ผู้นำประเภทนี้อาจเรียกว่า "งานก็สน คนก็สร้าง"
องค์การแทบทุกองค์การต่างก็ต้องการผู้นำประเภทที่ 4 คือ ผู้นำที่มีทั้งสัมพันธภาพสูงและมี
ความสามารถ หรือมีผลงานสูงเพราะจะเป็นกลไกสำคัญในการผลักดัน ความเจริญก้าวหน้าขององค์การ
และนำองค์การไปสู่การแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศได้ในที่สุด
ทฤษฎีที่ 3 ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ (Situational Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้นำอาจเกิดขึ้นเอง
ได้ตลอดเวลาตามสถานการณ์ เช่น สถานการณ์ที่จะต้องตัดสินใจอย่างเร่งด่วน ถ้าไม่มีใครตัดสินใจอาจ
ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน สถานการณ์เช่นนี้วรบุรุษหรือวีรสตรีย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ
ในอดีตประวัติศาสตร์ไทยได้เกิดผู้นำที่กล้าหาญตามสถานการณ์มากมายหลายท่าน ดังนั้นสถานการณ์
สามารถสร้างลักษณะของผู้นำได้ การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ ก็ย่อมทำให้ลักษณะของผู้นำ
เปลี่ยนไป
สัมพันธภาพสูง
ผลงานต่ำ
แบบที่ 2
สัมพันธภาพสูง
ผลงานสูง
แบบที่ 4
แบบของผู้นำ
สัมพันธภาพ
กับกลุ่มคน
สัมพันธภาพต่ำ
ผลงานต่ำ
แบบที่ 3
สัมพันธภาพต่ำ
ผลงานสุง
แบบที่ 1


                                               บทบาทหน้าที่ของผู้นำในการบริหารงานภาครัฐ
     ในการบริหารงานขององค์การภาครัฐ นอกจากจะมีการแบ่งระดับของการปฏิบัติงานแล้ว ยังมี
การแบ่งส่วนของงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการทำงานอีก และส่วนย่อย ๆ นี้ ซึ่งเราอาจเรียก
ว่า แผนก ฝ่าย หรือกลุ่มงานก็แล้วแต่ ทุกส่วนย่อยขององค์การจะต้องมีผู้นำหรือหัวหน้างาน ซึ่งถือว่าเป็น
ผู้บริหารระดับต้น ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงานโดยตรง และเป็นผู้รับนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติ
มาจากผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ขององค์การจึงเป็นเรื่อง
ที่ไม่ง่ายนักสำหรับนักบริหารมือใหม่ หรือผู้ที่ไม่มีความรู้และความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของผู้นำ ในที่
นี้จึงใคร่ขอเสนอบทบาทหน้าที่ของผู้นำแต่พอสังเขปดังนี้
1. เป็นตัวแทนขององค์การทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำระดับใดย่อมจะต้องเป็นตัวแทนขององค์
การในด้านการตัดสินใจ การประชาสัมพันธ์ การประสานงานในองค์การ การควบคุมดูแลอำนวยความ
สะดวก ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกองค์การ อาทิ เปิด - ปิดงาน เป็น
ประธานงานพิธีหรืองานมงคลต่าง ๆ
2. ช่วยประสานงานภายในองค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำหรือหัวหน้าจะต้องทำหน้าที่ไกล่
เกลี่ย ประนีประนอม ประสานความแตกแยกหรือเป็น "กันชน" ระหว่างความขัดแย้งของบุคคลใน
องค์การ
3. สร้างบรรยากาศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในองค์การ ถ้าผู้นำสามารถสร้างบรรยากาศ
เช่นนี้ได้ในที่ทำงาน ย่อมทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความร่วมใจในการทำงาน มีความรักและความผูก
พันต่องานและองค์การ ผลงานจะออกมามีประสิทธิภาพสูง การสร้างบรรยากาศในที่ทำงาน เช่น วางตัว
เป็นผู้ร่วมงานมิใช่เป็นนาย ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปรึกษาหารือได้ เสนอแนะความคิดเห็นได้ หรืออาจมี
สัญลักษณ์ร่วมกัน เช่น สัปดาห์ละ 1 วัน ให้ทุกคนใส่เสื้อผ้าพื้นเมืองสีเดียวกันหรือจัดงานแข่งขันกีฬา
เชื่อมสัมพันธไมตรีปีละครั้ง เป็นต้น
4. ทำการบริหารงานในองค์การตามเป้าหมายที่ตนเองรับผิดชอบโดยตรง เช่น เป็นผู้วางนโยบาย
หรือวางแผนจัดองค์การ จัดบุคคลเข้าทำงานตามความเหมาะสม อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
ประสานงาน ติดตามควบคุมและประเมินผลการปฏิบัติงาน
5. ทำหน้าที่ให้คุณให้โทษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ที่เป็นผู้นำหรือหัวหน้าจะต้องสามารถมีอำนาจ
ในการให้คุณและโทษแก่ลูกน้องได้ มิฉะนั้นแล้วจะขอความร่วมมือจากลูกน้องมิได้ เช่น ถ้าลูกน้องทำ
ดีมีผลงานก็ควรจะให้กำลังใจหรือตอบแทนน้ำใจและความดีตามความเหมาะสม อย่าฉกฉวยความดีหรือ
ผลประโยชน์จากลูกน้อง ในทางตรงกันข้ามลูกน้องที่ขาดความรับผิดชอบขาดความร่วมมือ กระทำผิด
วินัย หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์การอย่างจงใจ ตักเตือนแล้วก็ยังมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้น ผู้นำไม่ควร
ละเลย จะต้องพิจารณาลงโทษหนักเบาตามระเบียบ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงย่างแก่บุคคลอื่น
6. ทำหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาหารือและแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หัวหน้าจะต้องมี
ความรู้ความสามารถในงานที่ตนรับผิดชอบ เมื่อลูกน้องเกิดความไม่เข้าใจในการปฏิบัติงานหรือเกิด
อุปสรรคในการทำงาน จะต้องไม่ดูดาย และหาวิธีการช่วยแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงหรือให้ คำแนะนำที่
เหมาะสม เพื่อให้เขาสามารถดำเนินการต่อไปได้ อย่างเป็นผู้นำที่ชอบ "เอามือซุกหีบ" หรือประเภท
"นิ่งเสียตำลึงทอง"
กล่าวโดยสรุป ผู้นำหรือหัวหน้างานจะต้องมีบทบาทหน้าที่หลายประการทั้งหน้าที่ที่มีต่อองค์
การ คือ บริหารงาในองค์การให้มีประสิทธิภาพสูงทุกด้าน รักษาเสถียรภาพขององค์การ และพัฒนาองค์
การให้ มีความเจริญก้าวหน้า นอกจากนั้นยังต้องมีหน้าที่เป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างองค์การกับหน่วย
งานภายนอกที่เกี่ยวข้อง และเป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนขององค์การอีกด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า ผู้นำมีหน้า
ที่ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
                                                       คุณลักษณะของผู้นำที่ดีในอนาคต
            คำว่า "คุณลักษณะ" หมายถึง สิ่งที่บ่งบอกหรือชี้ให้เห็นในตัวบุคคลนั้น ๆ ซึ่งอาจติดตัวมาแต่กำเนิด
หรืออาจสร้างขึ้นมาภายหลังก็ได้ คุณลักษณะจึงเป็นการแสดงการกระทำของบุคคลที่มี คุณค่า ควรแก่การยก
ย่องและปฏิบัติตาม ฉะนั้นการศึกษาเรื่องคุณลักษณะของผู้นำในองค์การ จะกล่าวถึงคุณลักษณะที่มีความสำคัญ
บางประการแต่พอสังเขปดังนี้
1. เป็นคนมีวิสัยทัศน์ (Vision) หรือมีความคิดกว้างไกลและลุ่มลึก เพราะปัจจุบันเป็นสังคมยุค
โลกาภิวัฒน์ (Globalization) หรือ "สังคมไร้พรมแดน" หรือ "สังคมข้อมูลข่าวสาร" (Information
Society) องค์การทุกองค์การต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแส สังคมโลก ดังนั้นผู้
นำจะเพียงแค่คิดวันนี้พรุ่งนี้ ชนิดที่ เรียกว่า "ตำข้าวสารกรอกหม้อ" คงจะไม่ได้ ต้องมองการณ์ไกลหรือ
คิด (วางแผน) ล่วงหน้าเป็นปี 5 ปี หรือ 10 ปี ว่าเราจะพัฒนาโรงพยาบาล หรือกลุ่มงานของเราไปทิศทาง
ใด จะต้องอาศัยปัจจัยใดบ้าง ซึ่งเราเรียกว่า . ผู้นำฉลาดคิด ( Creative Leader ).
2. มีความรอบรู้ รอบคอบ รอบด้าน ทันต่อเหตุการณ์และปฏิภาณไหวพริบดี ผู้นำที่ดีจะต้องมี
ความรอบรู้งานที่ตนเองรับผิดชอบอย่างถ่องแท้ รู้จริง "อย่ารู้แบบเป็ด" รอบคอบ หมายถึง การทำงาน
จะต้องละเอียด ไม่ผิดพลาดและตรวจสอบได้ หรือ "มีความโปร่งใส" ( Transparency ) นั่นเอง ส่วนรอบ
ด้าน คือ เป็นบุคคลที่หูกว้าง ตากว้าง รับฟังข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดเวลา ที่เราเรียกว่าเป็น
"คนทันสมัย" หรือ "คนไม่ตกรุ่น" หรือ . Information Man .
3. มีความคิดสร้างสรรค์ หรือเป็นนักพัฒนา ผู้นำที่ดีต้องไม่ปฏิเสธนวัตกรรม ( Innovation )หรือ
สิ่งใหม่ ๆ ในขณะเดียวกันตนต้องเป็นผู้คิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นในองค์การ เพื่อให้องค์การมี
การเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยตลอดเวลา อาทิ นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในสำนักงาน อันจะทำให้การ
ทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น ทั้งสะดวก รวดเร็ว บริการดี มีความประทับใจ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์
แฟกซ์ เครื่องถ่ายเอกสาร ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายภายใน (Intranet) ระบบเครือข่ายทั่วโลก
(Internet) เป็นต้น
4. มีความรับผิดชอบ ผู้นำจะต้องมีความรับผิดชอบทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ
ความรับผิดชอบภายในองค์การ ได้แก่ ความรับผิดต่อตนเอง (มีจรรยาบรรณ) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
การงาน ส่วนความรับผิดชอบภายนอกองค์การ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อผู้มารับบริการ ประชาชน
หรือสังคมอันเป็นส่วนรวม ถ้าผู้นำมีความรับผิดชอบดี การทำงานทุกอย่างก็ย่อมสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
แต่ถ้าผู้นำรักแต่ชอบไม่ยอมรับผิด ก็เข้าทำนอง "ความดีขอรับไว้ ความจัญไรยกให้คนอื่น" ย่อมไม่มี
ใครอยากคบหาสมาคมด้วย
5. มีความอดทนและอดกลั้น ผู้นำจะต้องปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก ซึ่งมีความแตก
ต่างกันทั้งทางวัย ระดับการศึกษา ค่านิยม ภูมิหลัง ฯลฯ บางครั้งผู้นำอาจจะถูกนินทาหรือวิพากษ์วิจารณ์
จากลูกน้องในทางเสื่อมเสียชื่อเสียงได้ ก็ต้องมีความอดทนและอดกลั้นไม่โมโหโดยไร้เหตุผล ไม่โต้ตอบ
โดยใช้อารมณ์ แต่ใช้วิธีเรียกมาพบ ชี้แจงให้เข้าใจ ใช้เหตุผล จงยึดหลัก " ความอดทน อดกลั้น
นำมาซึ่งชัยชนะตนเองและผู้อื่น "
6. ความเด็ดขาด ความเด็ดขาดเป็นเรื่องของการนำคน ผู้ที่เป็นผู้นำคนจะต้องตัดสินใจ จะต้อง
แก้ปัญหาต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ถ้าผู้นำขาดความเด็ดขาด การตัดสินใจนั้นอาจล่าช้า การแก้ไขปัญหาอาจ
ไม่ทันการหรือเกิดความเสียหายได้ ความเด็ดขาดในที่นี้มิใช่ลักษณะเผด็จการ แต่มีความมั่นใจ มีความ
อาจหาญ มีความรวดเร็ว ไม่โลเล ไม่ล่าช้าหรือปล่อยให้ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นไปตามยถากรรม
7. มีมนุษยสัมพันธ์ "มนุษยสัมพันธ์" (Human Relationship) หมายถึง ศิลปะในการครองใจคน
หรือสร้างความสัมพันธอันดีกับบุคคลอื่น ดังคำกล่าวของเดลคาร์เนกี้ที่ว่า "การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา"
ผู้นำในองคการจะต้องทำตัวเป็นกันเองกับผู้ร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาตามความเหมาะสม ไม่ควรทำ
ตัวเป็น "นายเผด็จการ" หรือ "นางระเบียบ" ต้องเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของ ผู้ใต้บังคับบัญชา วางตัว
ให้เหมาะสม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นที่พึ่งทางความคิด ความรู้ และที่พึ่งทางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังคำ
กล่าวที่ว่า "ผู้นำต้องทำตัวให้เหมือนกองไฟในฤดูหนาว ร่มไม้ใหญ่ในฤดูร้อน หลังคาในฤดูฝน สายธาร
ในความแห้งแล้ง และแสงสว่างในความมืด" ถ้าท่านมีคุณสมบัติ เช่นนี้ เชื่อได้ว่าท่านจะได้รับความรัก
ความศรัทธาและความร่วมมือในการปฏิบัติงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยดีแน่นอน
8. รู้จักส่งเสริมและให้กำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำที่ดีจะต้องคำนึงถึงความรู้สึกของลูกน้องว่า
เขาคิดอย่างไร ซึ่งอาจจะวัดดูได้จาก ผลงานที่ทำ กิริยาท่าทาง ความตั้งใจจริง ความกระตือรือร้น การมีจิต
ใจที่มั่นคง ฯลฯ ผู้นำจะต้องคอยสังเกตลูกน้องที่ขาดกำลังใจ และหาทางบำรุง กำลังใจ ส่งเสริมขวัญ
กำลังใจ ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ตัวเขาเอง ต่อผู้นำและต่อองค์การ ทั้งนี้ผู้นำไม่ต้องลงทุนอะไรมาก วิธีที่
สามารถทำได้คือ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา แสดงความเชื่อมั่นในตัวเขาอย่างจริงใจ ยกย่องชมเชย
ให้บำเหน็จความชอบ เมื่อเขาทำดีหรือประสบความสำเร็จในการทำงาน ดูแลทุกข์สุขในการทำงาน
ของลูกน้อง มีความจริงใจต่อลูกน้อง หลีกเลี่ยงการขู่บังคับ และอย่าจุกจิกจู้จี้ขี้บ่น หรือหยุมหยิม
แบบ "ฆ่าควายเสียดายเกลือ"
9. มีศิลปะในการพูด "การพูด" นับว่าเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์ใช้มากในชีวิตประจำวัน โดย
เฉพาะการเป็นผู้นำหรือหัวหน้าคน จะต้องมีประมุขศิลป์หรือมีวาทศิลป์ในการพูด คือ "ทั้งพูดได้ พูดดี"
การพูดจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ว่าเป็นศาสตร์เพราะต้องอาศัยองค์ความรู้ หรือมีการเรียนรู้ ส่วนที่ว่า
เป็นศิลป์นั้น คือ การพูดต้องอาศัยเทคนิค วิธีการ ทักษะและประสบการณ์มาก ๆ การพูดมิใช่สิ่งที่ติดตัว
มาแต่กำเนิด การพูดมิใช่พรสวรรค์อย่างเดียว แต่การพูดสามารถฝึกฝนได้ แสวงหาได้ เราจึงอาจกล่าวว่า
" การพูดมิใช่พรสวรรค์แต่อย่าง แต่เป็นพรแสวงด้วย "
การเป็นผู้นำที่ดีต้องรู้จักพูดสั่งงาน หรือโน้มน้าวจิตใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ร่วมมือ และเต็มใจใน
การทำงานคำพูดที่ใช้ต้องเป็นคำพูดที่สุภาพ อ่อนหวาน ถ่อมตนไม่โอ้อวด ไม่พูดโดยใช้อารมณ์หรือออก
คำสั่งแบบนายว่าบ่าว ดังคำกล่าว "อย่าพูดมากปากกล้าเวลาโกรธ เสียประโยชน์โทษหนักเสียศักดิ์ศรี"
เพราะไม่มีใครชอบฟังคำพูดที่กระโชกโฮกฮาก หรือพูดส่อเสียด พูดไม่สร้างสรรค์ ดังนั้นถ้าผู้นำรู้จักพูด
การพูดนั้นย่อมเป็นเงินเป็นทอง หรือ "พูดดีมีกำไร" ลูกน้องจะต้องยอมรับเรามากขึ้น จะเป็นกันเองกับ
เรา รู้สึกเป็นพวกเดียวกัน และไม่เกิดการแตกแยก การขอความร่วมมือในการทำงานใด ๆ ย่อมทำได้
ง่ายขึ้


      หลุมพรางของความเป็นผู้นำ
         การเป็นผู้นำที่ดี จะต้องพยายามหลบหลุมพราง ที่อาจเป็นอุปสรรคในการทำงาน
                   ( กวี วงศ์พุฒ.2535 : 116) ดังนี้
- นั่งติดบัลลังก์ - ชอบเปรยแต่ไม่ทำ
- ชอบฟังแต่ข่าวลือ - ข้าขอนำตลอดกาล
- ดาวดื้อแห่งยุค - ชอบอภิบาลพวกพ้อง
- จุกจิกจู้จี้ - นักปกครองจอมกะล่อน
- หลีกหนีลูกน้อง - หย่อนความขยัน
- คล่องเกินการณ์ - ยานทางศีลธรรม
- ชอบแต่งานเด่นดัง - ความจำไม่เอาไหน
- ฟังจนเข่าอ่อน - บ้าแต่งานมากไป
- หย่อนของรางวัล - ใช้คนเหมือนเครื่องจักร
- ชอบฝันเอาสบาย - ชอบชักแม่น้ำทั้งห้า
- วุ่นวายเรื่องย่อย ๆ - ไม่รู้ค่าตำแหน่งงาน
- ปล่อยปละละเลย - วิชาการล้าหลัง
ลูกน้องที่น่าหนักใจ 30 ข้อ
ผู้เขียนได้อ่านแง่คิดของ สุพัฒน์ รัชตเมธี และจารุพรรณ ธารีลาภ ได้สรุปลักษณะของ ลูกน้อง
ที่หนักใจ 30 ข้อ เห็นว่าน่าสนใจ และผู้นำหรือหัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆ อาจนำไปใช้เป็นประโยชน์ใน
การบริหารงานในองค์การได้คือ
1. สุกเอาเผากิน 16. มีไม้เด็ดหลอกนาย
2. ไม่ชินกับวินัย 17. ชอบตะกาย 2 ขั้น
3. อ่านใจคนไม่ออก 18. ไม่ยึดมั่นหลักการ
4. กลิ้งกลอกจนเกินงาม 19. อู้งานจนเป็นนิจ
5. เช้าชามเย็นชาม 20. ไม่ยอมคิดด้วยตัวเอง
6. ลามปามชาวบ้าน 21. ชอบบรรเลงด้วยปาก
7. งุ่นง่านอยู่ไม่สุข 22. พูดลำบากไม่ยอมรับ
8. ชอบสนุกไปวันวัน 23. สมองกลับไม่มีอาย
9. ฝันกลางวันบ่อย ๆ 24. มาสายไม่เคยพลาด
10. ค่อย ๆ และเล็มงาน 25. ทนทายาทคำดุด่า
11. ร่วมล้างผลาญครุภัณฑ์ 26. ว่าก็ว่าข้าไม่กลัว
12. วิ่งเบิกกันอุตลุด 27. เรื่องมั่ว ๆ นี้ถนัด
13. แถมขี้เกียจแบบสุดสุด 28. ชอบซัดเพื่อนร่วมงาน
14. ชอบมุดหลบงาน 29. แถมพาลอีกต่างหาก
15. ถึงประจานก็ไม่เข็ด 30. เป็นที่ขยาดคนรอบข้าง
ถ้าหน่วยงานใดมีลูกน้องดังลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานในองค์การ
ดังนั้นหน่วยงานจะต้องพิจารณาคัดแยกลูกน้อง ว่ากลุ่มใดบ้างที่มีพฤติกรรมดี และกลุ่มใดบ้างที่มีพฤติกรรมไม่
เหมาะสม จะได้หาวิธีพัฒนาพฤติกรรมให้ดีขึ้น จะได้ไม่เกิดพยาธิในองค์การ
                 

                            วิธีเสริมสร้างภาวะผู้นำในองค์การ
ถ้าท่านพิจารณาตนเองแล้วพบว่า ยังมีพฤติกรรมบางประการที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นหัวหน้างานที่ยัง
ไม่มีภาวะผู้นำเต็มที่ ท่านสามารถเสริมสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับตนเองได้ เพราะภาวะผู้นำมิใช่พรสวรรค์
แต่เป็นพรแสวง ที่สามารถเรียนรู้ และฝึกฝนได้ ซึ่งอาจกระทำได้ดังนี้
1.  วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งในการบริหารงานของตนเอง เมื่อพบข้อบกพร่อง ต้องเปิดใจกว้างพร้อมที่
จะยอมรับความจริง และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข
2.  การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง เช่น ปรึกษาผู้รู้ หรือผู้ที่มีลักษณะการเป็นผู้นำที่ดี และนำ
เทคนิคนั้นมาปรับปรุงตนเอง
3.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริหารจัดการเสียใหม่ ตั้งแต่เปลี่ยนวิธีคิด วิธีสั่งการ วิธีประสานงาน
วิธีประชุม ตลอดจนวิธีติดตามและประเมินผลงาน
10
4.  ดูแบบอย่างผู้นำที่ดีทุกระดับ อาทิ ผู้นำองค์การ ผู้นำชุมชน ผู้นำประเทศ เช่น นายกรัฐมนตรี ฯลฯ
5.  อ่านมาก ฟังมาก และฝึกฝนมาก
6.  เข้าโรงเรียนหรือสถาบันพัฒนาผู้นำ ฝึกตามหลักสูตรกำหนด เชื่อว่าคงจะสร้างภาวะผู้นำขึ้นมาได้บ้าง
เช่น นักการเมือง นักปกครอง ตลอดจน นักธุรกิจระดับสูง จำนวนไม่น้อยที่ผ่านการฝึกภาวะผู้นำจาก
สถาบันต่างๆ


















                                                                                       สรุป
           การทำงานให้มีประสิทธิภาพนั้น ทุกองค์การต่างยอมรับร่วมกันว่า จะต้องอาศัยกลยุทธ์หรือยุทธ
ศาสตร์หลายอย่าง ทั้ง งบประมาณ บุคลากร การอำนวยการ เครื่องมืออุปกรณ์ สถานที่ทำงาน ฯลฯ แต่สิ่ง
สำคัญประการหนึ่งคือต้องอาศัยการมี "ภาวะผู้นำ" (Leadership) ที่ดี เพราะผู้นำเปรียบเสมือนเป็น นายท้ายเรือ
ที่จะนำพารัฐนาวาให้ไปถึงฝั่งหรือสู่จุดหมายปลายทางได้โดยสวัสดิภาพ การเป็นผู้นำนั้นมิใช้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น
ได้กับทุกคน แต่ทุกคนก็สามารถเป็นผู้นำได้ ถ้าได้รับการเรียนรู้ ฝึกฝนบ่อย ๆ และหมั่นแก้ไขข้อบกพร่อง
ของตนอยู่เสมอ ตลอดจนประเมินผลตนเองจาก ผู้บังคับบัญชาที่สูงขึ้นไป เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา
หรือลูกน้อง โดยเฉพาะถ้าลูกน้องให้ความร่วมมือในการทำงานน้อยงานออกมาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
หัวหน้างานต้องพิจารณาภาวะผู้นำของตนเอง และปรับปรุงแก้ไข บุคลิกภาพ วิธีการบริหารงานของตนเสีย
ใหม่ ให้เป็นผู้นำที่ฉลาดคิด ( Creative Leader ) และเป็นผู้นำที่ฉลาดทำ ( Effective Leader ) เป็นได้ทั้งผู้ฝึก
สอน ( Coach ) เป็นผู้เร่งการเปลี่ยนแปลง ( Change Agent ) เป็นนักประชาสัมพันธ์ ( Spokesperson )
ฯลฯ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าไม่ช้าท่านจะเป็นหัวหน้างานที่ดี ผลลัพธ์ ( Outcome ) ของงานก็จะมีประสิทธิภาพ
องค์การก็จะมีความเจริญก้าวหน้า สามารถแข่งขันกับองค์การอื่นๆได้ ขอให้ท่านคิดอยู่เสมอว่า " กลองจะดัง

ก็เพราะตี ลูกน้องจะดีก็เพราะนาย "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น